ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หนังสือนี้จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกในวาระการจัดงานประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 28-30 มีนาคม 2555 ในหัวข้อ "อาเซียน: ประชาคมในมิติวัฒนธรรม ความขัดแย้งและความหวัง"
หนังสือเล่มนี้ตั้งคำถามและนำเสนอมุมมองทางสังคม-วัฒนธรรมผ่านสายตาของนักมานุษยวิทยา นักสิทธิมนุษยชน นักวิมยาศาสตร์ นักปรัชญา สื่อมวลชน ฯลฯ เพื่อเปิดประเด็นสำคัญในวาระการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
หนังสือรวมบทปาฐกถาจากการประชุมวิชาการทางมุษยวิทยา ครั้งที่ 10 ที่มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28-30 มีนาคม 2555 เพื่อทำความเข้าใจพลวัตทางวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค
This essays in this collection were prepared for the SAC International Conference on Folk Performing Arts in ASEAN, hostedbr Siridhorn Anthropology Centre, September 4th-6th, 2015, on the special occasion of the 60th Anniversary or the Birth of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Siridhorn. The conference, entitled "Southeast Asian Folk Performances in Contemporary Life and in Transition," focused on diverse ways that local artists accommodate their artistic work to the dynamic socio-cultural ans transnational contexts of their lives.
"การแสดงพื้นบ้านในอาเซียน" การประชุมวิชาการนานาชาติ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
“คน” คือหัวใจสำคัญในการสะท้อนภาพความเข้าใจอาเซียนผ่านทัศนคติ ความคาดหวัง และการรับรู้ อีกทั้ง “คน” ยังเป็นมาตรวัดความสำเร็จของการเป็นประชาคมซึ่งเป็นความท้าทายที่อาเซียนต้องเผชิญ
ในการศึกษาอาเซียนในมิติวัฒนธรรม เราสามารถศึกษาผ่านหลากหลายช่องทางและแนวคิด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ผาสุข อินทราวุธ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นำเสนอมุมมองเรื่องอาเซียนผ่านสายสัมพันธ์ของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากหลักฐานทางโบราณคดี พบว่า ผู้คนในภูมิภาคนี้ มีลักษณะร่วมบางอย่าง จากการได้รับอิทธิพลจากอินเดียและจีนควบคู่กัน
ในการเข้าสู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอคู่ความคิดระหว่าง “ประชาสังคมอาเซียน” (ASEAN Community) และ “ประชาคมอาเซียน” (The ASEAN Community) โดยชี้ว่า “แนวคิด ประชาสังคมอาเซียน” จะเปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคประชาสังคม ได้สร้างความสัมพันธ์ ร้อยเรียงความผูกพันทางวงศาคณาญาติ ประสานจุดร่วมกันทางความคิดและความเชื่อ รวมถึงการติดต่อเชื่อมโยงข้ามพรมแดนระหว่างรัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนให้การเป็น “ประชาคมอาเซียน” สามารถเติบโตอย่างมั่นคง