สิงคโปร์ - ศิลปะการแสดง



           เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนา  ทำให้มีศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย  ต่างรวมกันเป็นลักษณะสังคมพหุวัฒนธรรม  ต่างมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในสังคมชาติพันธุ์ของตนเอง  สิงคโปร์เพิ่งจะประกาศเอกราชและปกครองตนเองเป็นสาธารณรัฐสิงคโปร์เมื่อ ค.ศ.1965  จึงทำให้สังคมของสิงคโปร์ซึ่งก่อร่างสร้างประเทศเพียง 50 ปีที่ผ่านมา  ไม่มีความเด่นชัดในเชิงวัฒนธรรมที่เป็นหนึ่งเดียว  แต่สิงคโปร์จะเป็นพหุสังคมวัฒนธรรมแบบผสมผสาน  ในภาพรวมแล้วนั้น  วัฒนธรรมจีนของชาวโพ้นทะเลที่ตั้งรกรานบนสิงคโปร์เป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลมากที่สุดตามประชากรเชื้อสายจีนที่มีในสิงคโปร์มากที่สุด  ในขณะเดียวกันอิทธิพลจากศาสนาจากกลุ่มผู้นับถือพระพุทธศาสนา  คริสต์ศาสนา  ศาสนาอิสลาม  และศาสนาฮินดู  ทำให้นิยามความหมายของศิลปะพื้นบ้านของสิงคโปร์ไม่ได้เน้นหนักไปที่ด้านใดด้านหนึ่งหรือกลุ่มวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง

            ในการแสวงหาตัวตนที่แท้จริงของสิงคโปร์  ยังอยู่ในการแสวงหาในบริบทของวัฒนธรรมที่หลากหลายจนกว่ารากเหง้าของวัฒนธรรมเดิมหายไป  แล้วหล่อหลอมวัฒนธรรมแบบผสมแบบสิงคโปร์  และเมื่อนั้นความเป็นตัวตนที่แท้จริงจึงจะค่อยๆ กำเนิดขึ้น  พร้อมๆ กับเอกลักษณ์ในความหมายของศิลปะสิงคโปร์จึงจะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ (ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล, 2558, หน้า 377-378)

 

ศิลปะการแสดงของจีน

เชิดสิงโต (Lion Dance)

            “การเชิดสิงโต” (Lion Dance) เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองในเทศกาลตรุษจีน  หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลก  ในประเทศสิงคโปร์ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจากชมชนชาวจีนมณฑลทางภาคใต้ของประเทศจีน  จึงทำให้แบบอย่างการเชิดสิงโตและการผลิตหัวสิงโตเป็นแบบสิงโตทางภาคใต้ (South Lion) มีการใช้โครงไม้ไผ่ประกอบเข้ากับวัสดุท้องถิ่น  เช่น  กระดาษ  ผ้าไหม  โลหะ  แผ่นเงิน  และเกล็ดทอง ฯลฯ  เย็บประกอบและจัดสร้างตามแบบหัวสิงโตท้องถิ่นในฮกเกี้ยน  แต้จิ๋ว  และกวางตุ้ง (ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล, 2558, หน้า 378-379)

            การเชิดสิงโตจะมีการเล่นกันครึกครื้นด้วยเสียงกลองและประกอบด้วยเสียงจุดประทัดดังสนั่นไปด้วย  คณะเชิดสิงโตจำนวน 10 กว่าคนขึ้นไป  จะพากันแบกหัวสิงโตและกลองตระเวนไปตามห้างร้านค้าต่างๆ ที่เป็นชุมชนชาวจีนอยู่หนาแน่น  พอถึงหน้าอาคารร้านตลาดก็จะเชิดอยู่สักครู่หนึ่ง  เมื่อเจ้าของบ้านเอาขนมเข่งและเงินใส่ซองกระดาษสีแดงมาให้สิงโต  พวกเขาก็จะเชิดเป็นการลาแล้วเคลื่อนไปยังบ้านถัดไป (ศรีมหาโพธิ์, 2542, หน้า 120-121)

 

งิ้วหุ่นกระบอก

            เดิมหุ่นกระบอกที่ทำจากไม้นี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบพิธีกรรมในงานศพและพิธีขจัดกาฬโรคในสมัยโบราณ  ต่อมาในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นได้ถูกนำมาแสดงในงานมงคลด้วย  แต่การใช้หุ่นกระบอกแสดงในงานศพก็ยังคงมีต่อมาจนถึงราชวงศ์หมิง  ในสมัยราชวงศ์หมิง  มีหุ่นกระบอกชนิดใหม่เกิดขึ้นเรียกว่า  หุ่นกระบอกถุงมือ  หรือเรียกว่า  ปู้ไต้ซี่ หรือจ่าจงซี่  การละเล่นชนิดนี้เริ่มเจริญขึ้นที่มณฑลฮกเกี้ยน  เมืองเฉวียนโจว  และการแสดงชนิดนี้เป็นที่นิยมกันมากที่ไต้หวันโดยเฉพาะในชาวจีนฮกเกี้ยน ปัจจุบันพิธีกรรมดังกล่าวก็ยังมีให้เห็นอยู่ในประเทศสิงคโปร์  เช่น  พิธีกงเต๊กที่วัดจีนผู่เจวี๋ยซื่อ

             หุ่นกระบอกปู้ไต้ซี่  แพร่กระจายเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์เมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน การแสดงงิ้วโรงใหญ่ในปัจจุบันนี้  แม้ว่าค่าจ้างตัวแสดงจะมีรายได้ดีพอสมควร  แต่เนื่องจากอัตราค่าจ้างงิ้วโรงงานใหญ่นั้นสูงมาก  ดังนั้นการที่จะมีโอกาสรับการว่าจ้างให้ไปแสดงจึงไม่บ่อยนัก  ประกอบกับการออกแสดงในแต่ละครั้งต้องฝึกหัดอยู่นาน  ทั้งทำนอง  เสียงร้อง  ท่าทางต่างๆ รวมทั้งการร่ายรำด้วย  จึงทำให้เสียเวลามาก  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งตรงข้ามกับการแสดงหุ่นกระบอก

              สำหรับการแสดงหุ่นกระบอกนั้น  หากร้องเพลงประกอบการแสดงได้พร้อมทั้งหัดเชิดหุ่นในช่วงเวลาอันสั้นก็ออกแสดงได้ทันที  ทั้งอัตราค่าว่าจ้างก็ถูกกว่างิ้วโรงใหญ่กว่าครึ่ง  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีผู้ว่าจ้างไปแสดงบ่อยครั้ง  โรงแสดงของงิ้วหุ่นกระบอก  ตั้งเป็นโครงร้านเตี้ยๆ ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณหนึ่งเมตรกว่า  ตัวโรงคลุมด้วยผ้าใบด้านบนและด้านหลัง  ด้านข้างเปิดโล่ง  ฉากและเครื่องประดับฉากเป็นฉากถาวรสำหรับการแสดงทุกเรื่อง  ในสังคมชาวจีนสมัยก่อน  เมื่อสิ้นฤดูเก็บเกี่ยว  ชาวบ้านมักว่าจ้างงิ้วชนิดต่างๆ มาแสดงฉลอง  เพื่อตอบแทนคุณเจ้าธรณีที่ได้ให้ความสมบูรณ์กับพื้นที่นาไร่

             ปัจจุบันนี้การแสดงงิ้วหุ่นกระบอกที่สิงคโปร์มีผู้ชมน้อยมาก  สำหรับการแสดงในรอบกลางวันนั้นกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงให้เจ้าประจำศาลดู  ส่วนเวลากลางคืนหากเป็นคณะที่มีชื่อเสียงก็จะมีผู้ชมเพิ่มมากขึ้น (พรพรรณ จันทโรนานนท์, 2528, หน้า 74-81)

 

ศิลปะการแสดงของมลายู

               บังสาวัน (Bangsawan) เป็นการแสดงละครร้องคล้ายกับการแสดงโอเปร่าของทางยุโรป  เป็นการแสดงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศสิงคโปร์  โดยมีจะการแสดงประกอบกับการร้องบทละครออกมาเป็นเพลงด้วยตัวของนักแสดงเอง  พร้อมกับการการเต้นประกอบเสียงดนตรีในท่าทางและอารมณ์ต่าง ๆ ตามบทบาทที่ได้รับ สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก โดยการแต่งกายจะมีการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสวยงามสีสดใส การแสดงละครร้อง ที่ถูกเรียกว่า บังสา

บรรณานุกรม

    ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. (2558). ศิลปะอาเซียน (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

    พรพรรณ จันทโรนานนท์. (มิถุนายน 2528). ปู้ไต้ซี่ งิ้วหุ่นกระบอกของชาวจีนฮกเกี้ยนที่สิงคโปร์. ศิลปวัฒนธรรม, 74-81.

    ศรีมหาโพธิ์. (2542). ประเพณีธรรมเนียมจีน. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.