ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Database of Southeast Asian Sociocultural Information

บทความ

จำนวนทั้งหมด 10 รายการ

การตอบโต้ของโลกตะวันออก การท่องเที่ยว เสน่ห์ตะวันออก และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์


บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวิพากษ์ ด้วยการใช้แนวคิด “แนวคิดนิยมตะวันออก” (Orientalism)2 ของ Edward Said บทความจะวิเคราะห์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์ 3 แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย ที่เชื่อมโยงกับตัวตนของความเป็นเอเชียนสิงคโปร์


เขาพระวิหารและย่านพนมดงรัก : ภาพลักษณ์เชิงมานุษยวิทยากายภาพ จากหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์วรรณา


ตลอดระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชานั้น เป็นที่ตั้ง ของชุมชนโบราณและศาสนสถานอันเป็นศูนย์กลางของชุมชนใหญ่น้อยจำนวนมากมาย รวมถึงปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นเทวสถานโบราณแบบศิลปะขอมในลัทธิศาสนาพราหมณ์-ฮินดู


โครงการวิจัย โบราณคดีลุ่มแม่นํ้าโขงตอนกลาง กับการสร้างภาพสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ขาดหายของไทย และผืนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ขณะที่งานวิจัยเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงและวัฒนธรรมบ้านเชียง ที่ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร ของไทย กับพิพิธภัณฑ์โบราณคดีและมานุษยวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเริ่มต้นมาตั้ง แต่ประมาณกว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา


ไปดูพัฒนาการ “อักษรโบราณ” ของอินโดนีเซีย


ผู้เขียนได้เจอบทความเรื่อง “Bali Age People” เขียนโดย Terima ในเว็บไซต์ http://balitouring.com เห็นว่าน่าสนใจดี เพราะบทความนี้ได้กล่าวถึงพัฒนาการอักษรโบราณในประเทศอินโดนีเซียอย่างย่อๆ แต่ก็ทำให้เห็นภาพรวมทั้งหมด


พื้นที่ทางวัฒนธรรมของ “คนข้ามเพศ” และ “คนรักเพศเดียวกัน” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเขตที่มีกลุ่มวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ที่แตกต่างหลากหลายทั้งในเขตพื้นทวีปและเขตมหาสมุทร กลุ่มคนแต่ละกลุ่มจะมีขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อของตนเองซึ่งสัมพันธ์กับการแสดงออกทางเพศ การแสดงบทบาทชาย หญิง และสถานะทางสังคมของบุคคล


พิพิธภัณฑ์ลาว: จินตนาการเรื่องชาติและความทรงจำทางประวัติศาสตร์


พิพิธภัณฑ์เป็นผลผลิตอันเนื่องมาจากจินตนาการชาตินิยมยุคสมัยใหม่และเป็นสถานที่แสดงความทรงจำของชาติ พิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นจากสำนึกของมนุษย์ในโลกยุคสมัยใหม่ที่ตระหนักในความเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์


ประวัติศาสตร์ บ้าน และอัตลักษณ์ภูมิภาค


บทความจะพยายามแสดงให้เห็นถึงข้อคำนึงทางประวัติศาสตร์ที่จัดแสดงในเมือง จำลอง ทั้งของผู้สร้าง/วางแผน ผู้ที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์ ผู้สร้าง/วางแผนพยายามหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุทดแทน หากกลับเน้น “ความจริงแท้” ทางวัฒนธรรมในการออกแบบ นักวางแผนใช้เมืองจำลองสะท้อนความเป็นภูมิภาคที่ผูกโยงกับความเป็นมาของ พื้นที่ และอยู่ในกระแสของโลกสมัยใหม่ การแสดงออกถึงประเพณีในแบบดังกล่าวนี้แตกต่างไปจากการนำเสนอวัฒนธรรมของรัฐ ที่ไม่ได้ใส่ใจต่อกระบวนการวัฒนธรรมอย่างสิ้นเชิง


บาหลี: พิพิธภัณฑ์มีชีวิต


ฮุตแมน (Houtman) ไม่ใช่ชาวยุโรปคนแรกที่เข้ามาติดต่อกับชาวบาหลี แต่บันทึกของเขาที่เกี่ยวกับบาหลีในปี ค.ศ. 1597 ทิ้งไว้ซึ่งความทรงจำที่ติดแน่นในสำนึกเกี่ยวกับบาหลีของชาวตะวันตก ในบันทึกได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับลูกเรือสองคนของฮุตแมนที่ละทิ้งภาระกิจไป


บันทึกการเดินทาง: หลวงพระบาง ผู้คน ชีวิต และพิพิธภัณฑ์


ข้อเขียนนี้พัฒนามาจากบันทึกภาคสนามของผู้เขียน เมื่อครั้งไปเยือนเมืองหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. 2552 แม้จุดหมายปลายทางของการเดินทางในครั้งนั้นคือ การสัมภาษณ์ Tara Gudjadhur และทองคูน สุดทิวิไล สองผู้อำนวยการหญิงของ “ศูนย์ศิลปะและชนเผ่าวิทยา” (Traditional Arts and Ethnology Centre) แต่การได้เดินท่องไปตามตรอกซอกซอย พบปะพูดคุยกับผู้คนต่างๆ ทำให้เห็นชีวิตและได้ย้อนคิดกับความเป็นไปของเมืองและผู้คน


"อ่าน" ภาพแทนกลุ่มชาติพันธุ์ ในพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ สปป.ลาว


บทความนี้ศึกษาภาพแทนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกสร้างโดยพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในลาว 3 แห่ง คือ หอพิพิธภัณฑ์บรรดาเผ่าแขวงพงสาลี หอพิพิธภัณฑ์ชนเผ่าเมืองสิง และศูนย์ศิลปะและชนเผ่าวิทยา เมืองหลวงพระบาง ผลการศึกษาพบว่า การให้ความหมายและสร้างภาพแทนกลุ่มชาติพันธุ์ แตกต่างกันตามบริบท ทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ รวมถึงอำนาจและทัศนะภัณฑารักษ์... ตีพิมพ์ใน "วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง" ศูนย์วิจัยพหุลักษ์สังคมลุ่มน้ำโขง ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2557


close