มาเลเซีย - ประวัติศาสตร์



ยุคก่อนประวัติศาสตร์

          จากชุมชนชายฝั่งทะเลในอดีตของมาเลเซียได้เปิดรับและเชื่อมโยงการติดต่อค้าขายทางทะเล กับอินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ทำให้สังคมท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จทางการค้าอย่างมากมาย การเดินทางจากต่างประเทศเข้ามา ทำให้พื้นที่นี้เป็นสถานที่ที่เปิดรับความก้าวหน้าทางความคิดจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและเป็นที่น่าสังเกตว่าหลักฐานทางโบราณคดีของมาเลเซียปรากฏให้เห็นน้อยกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ปรากฏร่องรอยของศาสนสถานโบราณ เช่น พระนครในกัมพูชา หรือ โบโรดูร ในชวา ซึ่งหลักฐานเกี่ยวกับชาวมลายูนั้นจะพบได้จากแหล่งข้อมูลจาก อินเดีย จีน และอาหรับ ประวัติศาสตร์ของมาเลเซียที่สามารถสืบค้นและมีหลักฐานยืนยันนั้น นักประวัติศาสตร์มักจะถือ การปรากฏตัวของมะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญทางชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายูเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาประวัติศาสตร์มาเลเซีย

 

มะละกา : ศูนย์กลางการค้าที่รุ่งเรืองในศตวรรษที่ 15

           มะละกาเป็นหมู่บ้านชาวประมงที่ก้าวเข้ามาเป็นศูนย์กลางการค้าและศูนย์กลางทางวัฒนธรรมมลายูที่รุ่งเรือง เนื่องจากมีภูมิศาสตร์ที่อยู่ในเส้นการค้าทางทะเลที่สำคัญ 2 เส้นทาง ทำให้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับตลาดการค้าสำคัญของอินเดียและจีนด้วยระบบลมมรสุมประจำปี

            นอกจากนี้มะละกายังเป็นดินแดนที่มีความมั่งคั่งด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ มีสินค้ามากมายสำหรับขายและแลกเปลี่ยน เช่น ไม้เนื้อหอม ยางสน หวาย และของสำคัญคือสินแร่ ทองคำและดีบุก ซึ่งเหมืองดีบุกที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งขึ้นที่แหลมมลายู ชาวมลายูมีการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมาตามแม่น้ำและชายฝั่งทะเลมากกว่าดินแดนด้านหลังฝั่งทะเล การค้าขายระหว่างกันนี้โยงใยกับเครือข่ายอันกว้างขวางของการค้าภายนอกนำไปสู่การการค้าขายกับประเทศต่างๆที่เดินทางเข้ามา

            การเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามเกิดขึ้นโดยตรงกับการค้าโดยกลุ่มมุสลิมจากอินเดีย เป็นปัจจัยสำคัญในการส่งผ่านวัฒนธรรมมะละกา-มลายู คือ ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม  การแพร่กระจายของศาสนาอิสลามผ่านหมู่เกาะอ้างกันโดยทั่วไปว่ามาจากชาวมุสลิมอินเดีย โดยการเผยแพร่สู่ชนชั้นสูงในมะละกา ประมุขของมะละกาเปลี่ยนศาสนามาเข้ารับอิสลาม การเปลี่ยนมารับศาสนาอิสลามของประมุขมะละกานั้นเป็นการส่งเสริมเรื่องการค้าเป็นสำคัญ อันเนื่องมาจากการอุปถัมภ์และคุ้มครองจากของชาวมุสลิมด้วยกัน

            ตลอดศตวรรษที่ 15 ชื่อเสียงของมะละกาในฐานะเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการศาสนาสร้างมะละกาให้เป็นเกณฑ์ที่ราชอาณาจักรมุสลิมอื่นๆ ในหมู่เกาะใช้เป็นเครื่องวัด มะละกาเป็นสังคมที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ หลายภาษา รวมเข้าด้วยกัน แต่อย่างไรก็ดีแบบแผนการปกครอง วรรณคดี ดนตรี การแต่งกายก็บังถือว่าเป็นแบบ มลายู โดยเฉพาะ สิ่งที่เป็นหลักฐานชัดเจนที่สุดคือ การใช้ภาษามลายูอย่างแพร่หลาย ความยิ่งใหญ่ของมะละกาเริ่มเสื่อมลงเมื่อโปรตุเกสเข้ามาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในต้นศตวรรษที่ 16 ซึ่งส่งผลให้เกิดการควบคุมการค้าระหว่างประเทศโดยชาวของตะวันตกแทน

 

การเข้ามาของชาติตะวันตก

           โดยเริ่มแรกสังคมของชาวพื้นเมืองเดิมยอมรับการเข้ามาของชาวยุโรป ในศตวรรษที่ 16 และทำการประเมินเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่อาจจะได้รับจากการติดต่อค้าขาย เมื่อถึงกลางศตวรรษที่ 19 รัฐบาลได้มีการจัดระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการรวบรวมและการกระจายทรัพยากรใหม่เพื่อที่จะถือเอาประโยชน์จากการที่ประเทศอุตสาหกรรมของยุโรปมีความต้องการวัตถุดิบมากขึ้น  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อป้อนวัตถุดิบและที่ดินจากอาณานิคม ซึ่งในไม่ช้าก็จะเกิดขึ้นแก่ชาวมลายู การรวมตัวของพลังทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองในตะวันตกที่เป็นประเทศอุตสาหกรรม ทำให้ทั่วโลกรู้ว่ามันคือการแสวงหาผลประโยชน์ ความเหนือกว่าของอารยธรรมตะวันตก ทำให้พวกจักรวรรดินิยมชาวยุโรปจัดรูปความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งกระตุ้นให้หลายสังคมในเอเชีย แอฟริกา และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เริ่มสงสัยต่อการกระทำของชาติตะวันตก

              ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษได้เกิดคำว่า “มาเลย์” ขึ้นเพื่อแยกมุสลิมพูดภาษามลายูที่อยู่อาศัยในคาบสมุทรและเกาะใกล้ฝั่งเช่นเดียวกับแยกบอร์เนียวออกจากกลุ่มผู้อพยพเข้าจำนวนมากที่เป็นชาวอินเดียและชาวจีน อย่างไรก็ตามการจัดประเภทชาวมลายูของรัฐบาลอาณานิคมยังคมมีอยู่จนกระทั่งการถกเถียงกันก่อนได้รับเอกราชในปีค.ศ.1957 เมื่อเสนอแนะกันว่าควรใช้คำว่ามลายู เพื่อที่จะตั้งชื่อให้พวกเหล่านั้นทั้งหมดที่ต้องการจะเป็นพลเมืองของชาติใหม่

             ภายหลังการต่อต้านมาเลเซีย การรวมกลุ่มชาวพื้นเมืองเดิมจำนวนมากจากซาบาห์และซาราวักเข้าไว้ด้วยกันต้องเกิดการปรับปรุงกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายทางด้านการเมือง จึงได้จำแนกประชาชนบอร์เนียวไว้กับชาวมลายูในคาบสมุทร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้เป็นมลายูเหมือนกับคนในคาบสมุทรทั้งในด้าน ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม การแก้ไขปัญหานี้ คือการที่รัฐได้สร้างคำว่า “ภูมิบุตร” หมายถึง บุตรของแผ่นดิน ขึ้นมาเพื่ออ้างอิงถึงชาวโอรังอา-ซลีในคาบสมุทรมลายู ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมของซาบาห์และซาราวักกับชาวมลายู ซึ่งคำว่า ภูมิบุตรนี้ ถูกนำมาใช้ในเชิงปฏิบัติเพื่อการปกครองของรัฐ ในเรื่อง การจ้างงาน การศึกษา โควตาทางเศรษฐกิจรวมถึงการรักษาพยาบาล ซึ่งจะเห็นได้ว่ากลุ่มโอรังอา-ซลีในคาบสมุทรนั้นได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าภูมิบุตรในคาบสมุทร ซึ่งการเน้นย้ำเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของคำว่า “มลายู” และ “ภูมิบุตร” นำมาสู่การตั้งคำถามในการเข้าถึงทรัพยากรของเชื้อชาติอื่นๆ

 

การจลาจลทางชาติพันธุ์ 1969

            ภายหลังการก่อตั้งมาเลเซีย การรวมพวกชาวพื้นเมืองเดิมจำนวนมากจากซาบาห์และซาราวักเข้าไว้ด้วยกันจำเป็นอยู่เองที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงประเภทของชาติพันธุ์เก่าเสียใหม่ ถึงแม้ว่าเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง จึงได้จำแนกประชาชนบอร์เนียวไว้กับชาวมลายูในคาบสมุทร แต่พวกเขาก็ยังอยู่ผิดที่ผิดทางในเมื่อส่วนมากไม่ใช่มลายูอย่างเห็นได้ชัดทั้งในภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้พ้นปัญหานี้ จึงสร้างคำว่า ภูมิปุตรา คือ บุตรของแผ่นดินขึ้นมา เพื่อจะอ้างถึงพวกโอรังอา-ซลีในคาบสมุทรมลายู ที่เป็นประชาชนชาวพื้นเมืองเดิมของซาบาห์และซาราวักกับชาวมลายู

            มรดกที่ได้รับมาสะท้อนกลับมาให้เป็นทัศนคติของท้องถิ่น และร่างกันขึ้นมาเป็นนโยบายที่รัฐบาลของมาเลเซียกำหนดขึ้นนับตั้งแต่ได้รับเอกราช เมื่อ ค.ศ. 1957 ปัจจุบันก็ยังคงเป็นยืดหยุ่นได้อย่างน่าชื่นชม และเป็นคุณสมบัติยอดเยี่ยมในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม ความเด่นชัดที่พอๆ กันคือความกลัวความโลภทางเศรษฐกิจและการมีพลังเหนือกว่าของวัฒนธรรมตะวันตก ในปลายศตวรรษที่ 20 ความมั่นใจของมาเลเซียในการจัดการกับโลกภายนอกปรากฏให้เห็นอย่างเต็มที่เมื่อมาเลเซียรับเอาแนวความคิดเรื่อง โลกาภิวัตน์ เข้าไว้ การยอมรับแนวความคิดของภายนอกจึงได้มาซึ่งช่องทางใหม่ โดยการศึกษาการขยายตัว การเดินทางระหว่างประเทศ และการปรับปรุงเข้าถึงข่าวสารอย่างกว้างขวางโดยทางอินเทอร์เน็ต การก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการเปลี่ยนแปลงและการมีใจเด็ดเดี่ยวกับสิ่งที่ซึ่งรัฐบาลพุ่งเป้าไปที่การพัฒนาประชาราษฎร์ที่มีความระมัดระวังอย่างมากเชื่อมโยงผ่านทางอินเทอร์เน็ตถึงบุคคลที่มีความคิดเหมือนๆ กันทั่วโลก สำหรับรัฐบาลใหม่ที่จะคิดริเริ่มทำสิ่งใด และหวังให้ประสบความสำเร็จ จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับความสนใจมากขึ้นต่อการให้ข้อมูลข้าวสารแก่ประชาชนอย่างทันสมัย และมีประสิทธิภาพ

บรรณานุกรม

    พัชรินทร์ สวนฐิตะปัญญา. (2541). มาเลเซีย : เอกภาพกับการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

    อันดายา บาร์บารา วัตสัน และ ลีโอนาร์ด. (1943). ประวัติศาสตร์มาเลเซีย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

    สมพงษ์ งามแสงรัตน์. (2552). จากมะละกาถึงบาหลีในนามของพระเจ้าและพริกไทย. กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์.

    ชุลีพร วิรุณหะ. (2551). บุหงารายา : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าของชาวมลายู. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.

    อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ และ ชปา จิตต์ประทุม (บรรณาธิการ). (2542). วิกฤตการณ์มาเลเซีย : เศรษฐกิจ การเมือง-วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา.

    พิเชียร คุระทอง. (2541). ทรรศนะและความคิด มหาธีร์ โมฮัมหมัด คนขวางโลก. กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์มติชน.