อินโดนีเซีย - ข้อมูลพื้นฐาน



ที่ตั้ง : อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีน กับ ทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย

 

พื้นที่ :  พื้นที่รวมทั้งหมด 1,904,569 ตารางกิโลเมตร

          พื้นแผ่นดินมีพื้นที่รวม 1,811,569 ตารางกิโลเมตร

          พื้นน้ำมีพื้นที่รวม 93,000 ตารางกิโลเมตร

 

พรมแดนติดต่อ : 2,958 กิโลเมตร  โดยมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย 1,881 กิโลเมตร, ประเทศติมอร์-เลสเต 253 กิโลเมตร และ ประเทศปาปัวนิวกินี 824 กิโลเมตร

 

ภาพที่ 1 แผ่นที่ประเทศอินโดนีเซีย

 

ภูมิอากาศ : อินโดนีเซียตั้งอยู่บริเวณป่าฝนเขตร้อน มีสภาพอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (เดือนเมษายน-กันยายน) และฤดูฝน (เดือนตุลาคม-มีนาคม)

 

ภูมิประเทศ : อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะ ตั้งอยู่ในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะประเทศเป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยหมู่เกาะต่างๆ 17,508 เกาะ ราวๆ 6,000 เกาะไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ อินโดนีเซียมีเกาะขนาดใหญ่ 5 เกาะ ได้แก่ เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะกาลิมันตัน เกาะสุลาเวสี และเกาะปาปัว

 

เขตเวลา : ในประเทศอินโดนีเซีย มีเขตกำหนดเวลาด้วยกัน 3 เขต คือ

          - เขตตะวันตก (เกาะสุมาตรา เกาะชวา เกาะกาลิมันตันตะวันตก) คือ เวลามาตราฐาน GMT+7 หรือเวลาตรงกับเวลาในประเทศไทย

          - เขตกลาง (เกาะกาลิมันตันตะวันออก เกาะสุลาเวสี เกาะบาหลี) คือเวลามาตราฐาน GMT+8 หรือเวลาเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง

          - เขตตะวันออก (เกาะมาลูกูและเกาะปาปัว) คือเวลามาตราฐาน GMT+9 หรือเวลาเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง

 

ประชากรและสังคมในอินโดนีเซีย

          กลุ่มชาติพันธ์ุ : Javanese 40.1%, Sundanese 15.5%, Malay 3.7%, Batak 3.6%, Madurese 3%, Betawi 2.9%, Minangkabau 2.7%, Buginese 2.7%, Bantenese 2%, Banjarese 1.7%, Balinese 1.7%, Acehnese 1.4%, Dayak 1.4%, Sasak 1.3%, Chinese 1.2%, other 15% (Central Intelligence Agency, 2015)

 

ภาษา ศาสนา และ ประชากร

          - ประเทศอินโดนีเซียมีภาษาราชการและภาษาประจำชาติ คือ ภาษษบาฮาซา อินโดนีเซีย และภาษาท้องถิ่นอีกมากกว่า 700 ภาษา รวมไปถึงมีการใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาดัตช์ เป็นต้น

          - คนในประเทศอินโดนีเซียมีการนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด คือคิดเป็นร้อยละ 87.2 ศาสนาคริตส์ คิดเป็นร้อยละ 7 ศาสนาคริสต์โรมัน คาทอลิค คิดเป็นร้อยละ 2.9 ศาสนาฮินดู คิดเป็นร้อยละ 1.7 อื่นๆ คิดเป็นร้อยลๆ 0.9 และที่ไม่สามารถระบุได้ คิดเป็นร้อยละ 0.4 (Central Intelligence Agency, 2015)

          -  อินโดนีเซียมีประชากรประมาณ 255,993,674 คน (Central Intelligence Agency, 2015)โดยมีช่วงอายุเฉลี่ยดังต่อไปนี้

                   อายุตั้งแต่ 0-14 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.82 (ผู้ชาย 33,651,533 คน / ผู้หญิง 32,442,996 คน)

                   อายุตั้งแต่ 15-24 ปี คิดเป็นร้อยละ 17.07 (ผู้ชาย 22,238,735 คน / ผู้หญิง 21,454,563 คน)

                   อายุตั้งแต่ 25-54 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.31 (ผู้ชาย 55,196,144 คน / ผู้หญิง 53,124,591 คน)

                   อายุตั้งแต่ 55-64 ปี คิดเป็นร้อยละ 8.18 (ผู้ชาย 9,608,548 คน / ผู้หญิง 11,328,421 คน)

                   อายุตั้งแต่ 65 ปี และมากกว่า 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 6.62 (ผู้ชาย 7,368,764 คน /ผู้หญิง 9,579,379 คน) (Central Intelligence Agency, 2015)

                   จำนวนประชากรในประเทศในอินโดนีเซียมีจำนวนมากเป็นอันดับที่ 5 ของโลก    โดยมีจำนวนการเติบโตของประชากรเติบโตคิดเป็นร้อยละ 0.92 (ในปี 2015) โดยเฉลี่ยต่อประชากร 1,000 คนจะมีการเกิดของเด็กเกิดใหม่ที่ 16.72 คน ส่วนอัตราการเสียชีวิตของประชากรอินโดนีเซีย โดยเฉลี่ยต่อประชากร 1,000 คนจะมีอัตราการเสียชีวิตคิดเป็น 6.37 คน (Central Intelligence Agency, 2015)

 

การเติบโตของประชากรในเมืองใหญ่

          การเติบโตของประชากรในประเทศอินโดนีเซีย มีการเติบโตในเมืองใหญ่ที่มีการอาศัยอยู่ทั้งหมด 5 เมืองใหญ่ในอินโดนีเซีย ไม่เพียงเฉพาะในเกาะชวาเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงเมืองใหญ่ๆในหมู่เกาะอื่นๆด้วย ได้แก่ กรุงจาการ์ต้า (เมืองหลวง) มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 10.323 ล้านคน เมืองสุราบายา มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.853 ล้านคน เมืองบันดุง มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.544 ล้านคน เมืองเมดาน มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.204 ล้านคน เมืองเซอมาลัง มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 1.63 ล้านคน และ เมืองมาคาซาร์ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 1.489 ล้านคน (Central Intelligence Agency, 2015)

          โดยเฉลี่ยประชากรชาวอินโดนีเซียที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่ทั้ง 5 เมืองนั้นคิดเป็นอัตราเฉลี่ยร้อยละ 53.7 ของประชากรทั้งหมดในอินโดนีเซีย และมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนย้ายมามาอาศัยในเขตเมืองคิดเป็นร้อยละ 2.69 ต่อปี (Central Intelligence Agency, 2015)

 

การเมืองการปกครอง

          ชื่อแบบเต็ม : Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)

          ชื่อแบบสั้น : Indonesia (อินโดนีเซีย)

          ชื่อในภาษาบาฮาซาอินโดนีเซียแบบเต็ม : Republik Indonesia

          ชื่อในภาษาบาฮาซาอินโดนีเซียแบบสั้น : Indonesia

          เป็นเอกราช จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อ 17 สิงหาคม 1945

          วันชาติ : 17 สิงหาคม ของทุกปี

          สัญลักษณ์ : รูปพญาครุต (การูดา) หลักปัญจสีลาที่มีวรรคทองว่า​ “เอกภาพในความหลากหลาย (BhinnekaTunggal Ika)
 

ภาพที่ 2 รูปพญาครุต (การูดา) หลักปัญจสีลาที่มีวรรคทองว่า​

“เอกภาพในความหลากหลาย (Bhinneka Tunggal Ika)

(Wikimedia Commons, 2015)

 

          อินโดนีเซียปกครองแบบระบบสาธารณรัฐแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุขสูงสุดทางด้านการบริหารประเทศเป็นหัวหน้ารัฐบาลและเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี สามารถดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ โจโก วีโดโด (Joko Widodo) จากพรรค Indonesian Democratic Party of Struggle (PDI-P) ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2014 เป็นประธานาธิบดีคนที่ 7 ของอินโดนีเซีย

          การแบ่งเขตการปกครองสู่อำนาจท้องถิ่นเป็นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น (Decentralisation) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 34 เขต (Provinsi) 415 รีเจนซี่ (kabupaten) 93 เมือง (Kota) (Budiati Prasatiamartati, 2013) รวมถึงเขตการปกครองตนเองและเขตปกครองพิเศษ อีก 5 เขต คือ (The Jakatar Post, 2012)

 

ภาพที่ 3 แผนที่เขตการปกครองของอินโดนีเซีย

(Pembagian administratif Indonesia, 2015)

 

          - เขตปกครองเมืองหลวงพิเศษ (Daerah Khusus Ibukota - DKI)

          - Jakarta (Daerah Khusus Ibu Kota Jakarta หรือ Special Capital Region of Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีผู้ว่าราชการแห่งจาการ์ต้าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดสามารถแต่งตั้งหรือปลดตำแหน่งนายกเทศมนตรีและรีเจนท์(ผู้ว่าการ) ในเขตการปกครองเมืองหลวงพิเศษแห่งนี้ได้

          - เขตปกครองพิเศษ (Daerah-Daerah Istimewa – DDI) มี 4 เขตการปกครอง คือ

          - Aceh (Nanggroe Aceh Darussalam หรือ Aceh Special Region) มีบทบาทในเรื่องการปปกครองในท้องถิ่นอย่างมาก และการใช้ กฎหมายอิสลาม “ชะรีอะห์” (Sharia) ใช้ธง และเพลงเฉพาะในเขตการปกครองของตนเอง รูปแบบการปกครองท้องถิ่นและพรรคการเมืองท้องถิ่นสามารถมีส่วนในการเมืองได้

          - Yogyakarta (Yogyakarta Special Region) มีสุลต่านแห่งยอร์คยาการ์ต้าเป็นประมุข หรือเป็นผู้ว่าราชการสูงสุดของเขตการปกครอง แม้ว่าว่าด้วยตามกฎหมายของเขตปกครองชวากลางนั้น ผู้ว่าราชการจะต้องมาจากการเลือกตั้งเหมือนอย่างในเขตปกครองอื่นๆ แต่สุลต่านแห่งยอร์คยาการ์ต้าก็ยังคงมีอำนาจในทางการเมืองอย่างมากและถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการต่อไป

                   - Papua (Irian Jaya) ตั้งแต่ปี 2001 รัฐบาลท้องถิ่นมีบทบาทอย่างมากในการปกครอง รวมไปถึงมีการใช้ธงและเพลงเฉพาะในเขตการปกครองของตนเอง และผู้ว่าราชการที่จะมาดำรงตำแหน่งจำเป็นจะต้องเป็นคนปาปัวโดยดั้งเดิม

                   - West Papua (Irian Jaya Barat) มีสถานะการปกครองเช่นเดียวกับ Papua (Pembagian administratif Indonesia, 2015)

 

          รัฐธรรมนูญของประเทศอินโดนีเซียมีขึ้นตั้งแต่ สิงหาคม ค.ศ. 1945 (Undang-Undang Dasar Republik Indonesia 1945, UUD ’45) เมื่ออินโดนีเซียถูกรุกรานจากญี่ปุ่นและการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา กลายมาเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ มีการกำหนดให้ใช้ตามหลักปัญจศีล (Pancasila) เป็นหลักปรัชญาที่สำคัญ โดย อดีตประธานาธิบดีซูการ์โน คือ

1.) ความเชื่อในพระจเาสูงสุดเพียงพระองค์เดียว (Ketuhanan Yang Maha Esa) 

2.) มีหลักมนุษยนิยม คือมีความเที่ยงธรรมและเป็นมนุษยที่มีอารายะ (Kemanusiaan Yang Adil dan Beradab)  3.) ขาตินิยมแห่งความเป็นอินโดนีเซีย (Persatuan Indonesia)

4.) หลักการแห่งประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Kerakyatan Yang Dipimpin oleh Hikmat Kebijaksanaan, Dalam Permusyawaratan dan Perwakilan)

5.) ความยุติธรรมในสังคมสำหรับชาวอินโดนีเซียทั้งหมดโดยเท่าเทียมกัน (Keadilan Sosial bagi seluruh Rakyat Indonesia)

 

ภาพที่ 4 เหรียญของประเทศอินโดนีเซีย (Wikimedia Commons, 2015)

 

ภาพที่ 5 ภาพธนบัตรของประเทศอินโดนีเซีย (Wikimedia Commons, 2015)

       

          รัฐสภา เรียกว่า สภาที่ปรึกษาประชาชน (The People's Consultative Assembly of the Republic of Indonesia หรือ Majelis Permusyawaratan Rakyat Republik Indonesia, MPR-RI) ประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (People's Representative Council - DPR) ทั้งหมด 560 คน และ สมาชิกสภาผู้แทนระดับภูมิภาค (Regional Representatives Council - DPD) 132 คน รวม 692 คน   และการปกครองส่วนท้องถิ่นมี สภาประชาชนระดับท้องถิ่น (Regional People's House of Representatives - DRRD) ทุกๆระดับการปกครองจะมีการเลือกตั้งโดยตรง

 

เศรษฐกิจ

          - สกุลเงิน อินโดนีเซียใช้สกุลเงิน “รูเปียห์” (Rupiah) มีอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลาร์สหรัฐ ประมาณ 14,000 รูเปียห์ หรือเงินไทยประมาณ 400 บาท (XE Currency. September 2015: Online)

บรรณานุกรม

    Pembagian administratif Indonesia. (2015). Retrieved October 31, 2015, from Wikipedia: https://id.wikipedia.org/wiki/Pembagian_administratif_Indonesia

    Budiati Prasatiamartati. (2013, September 26). Policy and Participatory Local Governance in Indonesia. Retrieved from UNDP: http://www.pk.undp.org/content/dam/pakistan/docs/Democratic%20Governance/Federalism/International%20Conference%20Sept13/presentations/Day2/3rd%20Ms.%20Budiati%20pdf.pdf

    Central Intelligence Agency. (2015). The World Factbook. Retrieved from Central Intelligence Agency: https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/id.html

    The Jakatar Post. (2012, April 20). How many provinces does Indonesia need. Retrieved from The Jakatar Post: http://www2.thejakartapost.com/news/2012/04/20/how-many-provinces-does-indonesia-need.html

    Wikimedia Commons. (2015). File:Coins of the Rupiah (as of 2013).jpg. Retrieved October 31, 2015, from Wikimedia Commons: https://upload.wikimedia.org/ wikipedia/commons/5/5e/Coins_of_the_Rupiah_(as_of_2013).jpg

    Wikimedia Commons. (2015). File:National emblem of Indonesia Garuda Pancasila.svg. Retrieved October 31, 2015, from Wikimedia Commons: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:National_emblem_of_Indonesia_Garuda_Pancasila.svg