อินโดนีเซีย - บรรณนิทัศน์
ชื่อหนังสือ : จรจรัลอินโดนีเซีย
ผู้แต่ง : วัฒนะ จูฑะวิภาต
ปีที่พิมพ์ : 2521
หนังสือรูปแบบของบันทึกเดินทางของ วัฒนะ จูฑะวิภาต ที่บันทึกการเดินทางระยะสั้นระหว่างเดินทางไปประเทศอินโดนีเซีย เรื่องนี้เน้นการเล่าเรื่องในแบบของการท่องเที่ยวที่เดินไปตามท่องถนนตามชื่อเรื่องที่ว่า จร ในภาษาไทยและ Jalan ที่เป็นภาษาอินโดนีเซียอ่านว่าจาลัน หมายถึงถนน ในหนังสือเล่มนี้ถ่ายทอดเรื่องเล่าเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซีย สถานที่ท่องเที่ยว ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆที่ได้พบเจอ นำมารวบรวมร้อยเรียงเป็นร้อยแก้วเข้าใจง่าย ทั้งยังประกอบภาพถ่ายทำให้เห็นสภาพบ้านเมืองของอินโดนีเซียได้อย่างดี
ชื่อหนังสือ : ช่องแคบมะละกา-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย = The Malacca Straits-Malaysia-Indonesia
ผู้แต่ง : กิตติมา จันทร์ตรี
ปีที่พิมพ์ : 2541
หนังสือเรื่อง ช่องแคบมะละกา-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย เป็นหนังสือที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์เรื่อง “ช่องแคบมะละกากับความมั่นคงของอินโดนีเซียและมาเลเซีย” (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531) โดยหนังสือเรื่องนี้เน้นการพูดถึงช่องแคบมะละกา อันเป็นเส้นทางคมนาคมทางทะเล ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกที่สั้นที่สุด และเดินทางโดยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ได้มา จึงทำให้ช่องแคบมะละกามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ จนทำให้ชาติต่างๆ พยายามรักษาสถานภาพให้เป็นเส้นทางเดินเรือเสรี แต่ปัจจัยทางด้านสภาพภูมิศาสตร์ตลอดจนปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น สร้างปัญหาต่างๆ มายกมาย จนกระทั่งประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียพยายามอ้างสิทธิเข้ามาควบคุมช่องแคบนี้เพื่อความมั่นคงให้กับประเทศตัวเอง ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ความแออัดของช่องแคย ปัญหาความปลอดภัยในการเดินเรือ ปัญหาโจรสลัด หรือแม้แต่ปัญหามลพิษ
ชื่อหนังสือ : โลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียจากภาษิต
ผู้แต่ง : ศิริพร มณีชูเกตุ
ปีที่พิมพ์ : 2557
หนังสือเล่มนี้เป็นการศึกษาโลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียจากภาษิต จำนวน 700 ภาษิต แสดงให้เห็นโลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียที่มีต่อมนุษย์ โลกทัศน์ที่มีต่อธรรมชาติ และโลกทัศน์ที่มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ จากการศึกษาของผู้เขียนพบว่าภาษิตต่างๆได้มีการสะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียที่มีต่อมนุษย์มากที่สุด และโลกทัศน์ที่สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ที่เด่นชัดของคนอินโดนีเซีย ได้แก่ โลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียที่มีต่อดัตช์(เนเธอร์แลนด์) ซึ่งเป็นโลกทัศน์ในเชิงลบ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นทัศนะในลักษณะเชิงดูแคลน และมองเห็นความเอารัดเอาเปรียบของคนดัตช์ อันมีสาเหตุจากอินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์เป็นเวลาถึง 301 ปี อัตลักษณ์ที่เด่นชัดอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ โลกทัศน์ของคนอินโดนีเซียที่มีต่อศาสนาอิสลาม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าคนอินโดนีเซียให้ความสำคัญ ให้คุณค่า ให้ความศรัทธาต่อศาสนาซึ่งจะเกี่ยวพันกับการศึกษาเล่าเรียน เพราะในสมัยก่อนการศึกษาของชาวมุสลิมเริ่มจากคัมภีร์อัลกุรอาน
ชื่อหนังสือ : "ชมช่อมาลตี" (บันทึกการเดินทางไปอินโดนีเซีย)
ผู้แต่ง : เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2498-สมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2528
หนังสือเล่มนี้เป็นพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการเรื่องเกี่ยวกับ บันทึก เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประเทศอินโดนีเซีย ระหว่าง 2-16 ตุลาคม 2527 โดยบันทึกเล่มนี้ตั้งชื่อว่า ช่อมาลตี ในภาษายาฮาซาอินโดนีเซีย แปลว่า ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ประจำชาติของอินโดนีเซีย หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ทรงบันทึกระหว่างเสด็จ บันทึกเรื่องราวทางวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน อันมีลักษณะคล้ายคลึงและแตกต่างกันกับวัฒนธรรมไทย ถ่ายทอดเปรียบเทียบด้วยดอกมะลิว่าทั้งสองประเทศต่างก็มีดอกไม้ชนิดนี้เช่นกันเดียวกัน
ชื่อหนังสือ : บุหงารำไป
ผู้แต่ง : เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2498-สมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2528
หนังสือเล่มนี้เป็นพระราชนิพนธ์ประกอบนิทรรศการ เรื่อง ศิลปะอินโดนีเซีย ณ พระที่นั่งอัศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 พฤษภาคม 2528 เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ ๓๐ พระชันษา หนังสือพระราชนิพนธ์เล่มนี้เป็นส่วนขยายของหนังสือพระราชนิพนธ์ชุดเสด็จ ฯ เยือนต่างประเทศเรื่องชมช่อมาลตี
บุหงารำไปประกอบด้วยเนื้อหาและรูปเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย รวมทั้งพระฉายาลักษณ์และของที่ระลึกที่มีผู้ทูลเกล้า ฯ ถวาย
ชื่อหนังสือ : ตามรอย “รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเกาะชวาสามครา”
ผู้แต่ง : อิ่มทิพย์ ปัตตะโชติ ซูฮาร์โต
ปีที่พิมพ์ : 2555
หนังสือเล่มเป็นงานที่ในแบบของบันทึกความทรงจำโดยใช้วันเดือนปีทางสุริยคติในการลำดับเวลาแทนการลำดับแบบจันทรคติในแบบของหนังสือจดหมายเหตุดั้งเดิม การบันทึกทั้งหมดจัดทำให้ทั้งแทรกภาพสถานที่ในอินโดนีเซีย เพื่อถ่ายทอดการเสด็จราชดำเนินของรัชกาล 5 ให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของอินโดนีเซีย ที่ไม่เพียงในศาสนาอิสลามเข้าไปด้วย แต่ยังทำให้เห็นประเพณีของคนท้องถิ่นได้อย่างดี เช่น การเสด็จเมืองบันดุงครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2444 การทอดพระเนตรน้ำตก “ตะโคะ” คือน้ำตกจูรุกดาโก (Curug Dago) และในการเสด็จประพาสครั้งที่ 3 ในวาระเนื่องในศาสนาอิสลาม พิธีเกรอเบอกเมาลุด เป็นต้น
ชื่อหนังสือ : นิราศบาหลี
ผู้แต่ง : สุนัย จุลพงศธร และ ทศพร เสรีรักษ์
ปีที่พิมพ์ : 2547
หนังสือเรื่องนี้เขียนขึ้นในลักษณะของนิทราศในครั้งเมื่อออกเดินทางท่องเที่ยวไปยัง บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย นิราศเรื่องนี้มีการพรรณนาถึงทัศนียภพาอันงดงามของบาหลี ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมของชาวบาหลี อาชีพความเป็นอยู่วัฒนธรรมของชาวอูุต และสถานที่ท่องเที่ยงขึ้นชื่อต่างๆในบาหลีอย่างเช่น เดนปาซาร์ อูบุต อูลูวาตู
ชื่อหนังสือ : ยะวา-ชวาในบางกอก = The Javanese in Bangkok
ผู้แต่ง : กรรณิการ์ จุฑามาศ สุมาลี ; บรรณาธิการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, กาญจนี ละอองศรี.
ปีที่พิมพ์ : 2541
หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวของชาวยะวาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นมุสลิมจากเกาะชะวาในประเทศอินโดนีเซียที่เข้ามาสู่เมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2405 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปี พ.ศ. 2488 อันเป็นปีที่อินโดนีเซียได้รับเอกราชจากฮอลันดา หนังสือแบ่งเป็น 6 บท คือ บทที่ 1 สาเหตุของการเดินทางเข้าสู่เมืองไทยของชาวยะวาในสมัยรัตนโกสินทร์ บทที่ 2 การเข้ามาเมืองไทยของชาวยะวาในสมัยรัตนโกสินทร์ บทที่ 3 วิถีการดำรงชีวิตของชาวยะวาในกรุงเทพมหานคร บทที่ 4 การซื้อขายที่ดินของชาวยะวา บทที่ 5 วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวยะวาในกรุงเทพมหานคร บทที่ 6 ชาวยะวากับการโอนสัญชาติเป็นไทย การศึกษาพบว่าสาเหตุทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของชาวยะวาภายใต้การปกครองของฮอลันดา ทำให้ชาวยะวาเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในเมืองไทย ซึ่งถิ่นฐานของชาวยะวาในเมืองไทยนี้ยังคงดำรงอยู่จวบจนปัจจุบัน ชาวยะวาในเมืองไทยส่วนมากดำรงวิถีชีวิตโดยกระจายกันอยู่ทั่วไปในกรุงเทพมหานคร ต่อมาชาวยะวาบางส่วนที่ไม่ประสงค์จะตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองไทยก็พากันเดินทางกลับมาตุภูมิ ส่วนผู้ที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองไทยที่มีฐานะดีพอ ได้ซื้อที่ดินเป็นของตนเองและช่วยกันก่อตั้งมัสยิดขึ้นเพื่อประกอบศาสนกิจ การสร้างมัสยิดนี้ชี้ให้เห็นถึงความร่วมมือกันของชาวยะวา และความสัมพันธ์กับมุสลิมกลุ่มอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้มุ่งพิจารณาประเด็นด้านการศึกษาของชาวยะวาที่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปอันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 อีกด้วย การแต่งงานเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เห็นความสำคัญของชาวยะวากับกลุ่มบุคคลอื่น ๆ ในสังคมไทย อนึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายขัดกัน พ.ศ.2481 และนโยบายรัฐนิยม พ.ศ.2482 ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีส่วนส่งผลให้ชาวยะวากลายเป็นคนไทยในเวลาต่อมา (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. n.d.: Online)
ชื่อหนังสือ : จากมะละกาถึงบาหลี ในนามของพระเจ้าและพริกไทย
ผู้แต่ง : สมพงษ์ งามแสงรัตน์ เรื่องและภาพประกอบ ; เจด เภกะนันทน์ ภาพนำเรื่อง
ปีที่พิมพ์ : 2552
หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกการเดินทางของผู้เขียน เมื่อครั้งที่เดินทางไปยังประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย คือเดินทางจากมะละกา และเดินทางต่อไปยังบาหลี ในเรื่องผู้เขียนมาการเขียนเป็นแบบถามตอบกับตัวเองระหว่างการเดินทาง ตั้งแต่มะละกา สุมาตรา ชวา และจนทั่งถึงบาหลี ระหว่างการเดินทางจะมีการเล่าเรื่องต่างๆพร้อมสอดแทรกภาพวาดของผู้วาด รวมถึงยังมีการเปรียบเทียบชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมของประเทศทั้งสองอีกด้วย
ชื่อหนังสือ : อินโดนีเซีย : อดีตและปัจจุบัน
ผู้แต่ง : ภูวดล ทรงประเสริฐ
ปีที่พิมพ์ : 2547
หนังสือเล่มนี้เป็นงานเขียนเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประเทศอินโดนีเซีย ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันโดยนำเสนอในลักษณะของประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ เพื่อให้งานชิ้นนี้เป็นตำราทางวิชาการให้กับนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี รวมถึงต้องการถ่ายทอดไปยังบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจด้วยเช่นกัน ในเล่มนี้มีทั้งเรื่องภูมิหลังของอินโดนีเซีย การเปลี่ยนในเกาะชวาช่วงศตวรรษที่ 19 ระบบวัฒนธรรม การเข้ามาของอาณานิคมในอินโดนีเซีย ยุคการเป็นเอกราชของอินโดนีเซีย และการเปลี่ยนสู่อินโดนีเซียยุคใหม่ เป็นต้น
ชื่อจุลสาร : อินโดนีเซีย : ภาพยนตร์ ศาสนา กับเครื่องหมายคำถามของความหลากหลายในสังคมประชาธิปไตย = Indonesia : films religions and questions towards deversity in democratic society
ผู้แต่ง : สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ
ปีที่พิมพ์ : 2556
จุลสารจากงานสัมมนาประจำปี 2555/2556 “อาเซียนศึกษา” งานเขียนที่สะท้อนภาพยนตร์ของอินโดนีเซียที่ชื่อว่า “?” หรือ ตันดา ตันยา (Tanda Tanya) ภาพยนตร์โดยผู้กำกับ ฮานุง บรามันโย ภาพยนตร์ที่สะท้อนความย้อนแย้งของสังคมอินโดนีเซียที่บอกว่าอินโดนีเซียคือเอกภาพในความหลากหลาย แต่แท้จริงแล้วความหลากหลายนั้นกลับไม่เป็นจริง เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สะท้อนและวิพากษ์วิจารณ์ว่าด้วยเรื่องศาสนาในอินโดนีเซีย โดยเป็นการตั้งคำถามที่โยงถึง “เอกภาพในความหลากหลาย” ที่เป็นพื้นฐานของอินโดนีเซียตั้งแต่การสร้างชาติในยุคแรก โดยตั้งคำถามไปในเรื่องการเคารพความหลากหลายความแตกต่างต่ออินโดนีเซียท่ามกลางบรรยากาศของความรุนแรงทางศาสนาที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย เช่นการทำลายโบสถ์ คุกคามชาวมุสลิม ฯลฯ
ชื่อหนังสือ : นาฏศิลป์อินโดนีเซีย (Indonesia Dance)
ผู้แต่ง : รานี ศักดิ์สิทธิ์วิวัฒนะ
ปีที่พิมพ์ : 2528
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปพชวา เพื่อให้ทราบถึงที่มานาฎศิลป์ของอินโดนีเซียอย่างถูกต้อง และเพื่อให้นักศึกษา และผู้ที่สนใจได้เรียนรู้และเข้าใจศิลปวัฒนธรรมของอินโดนีเซียมากขึ้น แม้ว่าวัฒนธรรมไทยและอินโดนีเซียจะมีส่วนคล้ายคลึงกันอยู่บ้าง
ชื่อหนังสือ : ติมอร์เอกราชเลือด
ผู้แต่ง : องอาจ คล้ามไพบูลย์
ปีที่พิมพ์ : 2542
งานเขียนบันทึกเล่าประสบการณ์การเดินทางและการใช้ชีวิตอยู่ในประเทศติมอร์ เลสเต้ ในหนังสือเล่มนี้ได้เล่าเรื่องของคนในประเทศในมุมมองที่คนอื่นอาจจะไม่รู้เคยรู้มาก่อน บางครั้งเราก็รับทราบข่าว และเรื่องของติมอร์ในแบบเฉพาะข่าวมีแต่ข่าวไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นทำร้ายร่างกาย ความน่าสงสาร ความขัดแย้งทางการเมืองในติมอร์ระหว่างที่มีการเรียร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย ที่สร้างควาเศร้าสลดอย่างมาก คือการเข่นฆ่าประชาชน แต่ในงานเล่มนี้กลับเปิดมุมมองที่มีต่อติมอร์ได้กว้างขึ้น ทำให้คนอ่านได้เข้าในประเทศนี้ได้ดียิ่งขึ้น
ชื่อหนังสือ : อดีตและอนาคตของอะเจห์
ผู้แต่ง : วิทยา สุจริตธนารักษ์, สุภาค์พรรณ ขันชัย.
ปีที่พิมพ์ : 2546
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมเนื้อหาทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาต ของอาเจห์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของสังคมมุสลิม การใช้ชีวิตประจำวัน วัฒนธรรมประเพณี เรื่องการเมืองการปกครองท้องถิ่นของอาเจห์ที่มีรูปแบบแตกต่างไปจากการปกครองส่วนอื่นๆในประเทศอินโดนีเซีย และยังนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในอาเจห์ เส้นทางการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ปฏิรูป การเจรจาระหว่างกัน และแนวโน้มในอนาคตของอาเจห์
ชื่อหนังสือ : ติมอร์ตะวันออก : เส้นทางสู่เอกราช
ผู้แต่ง : จอห์น จี. เทเลอร์ ; ผู้แปล สิทธา เลิศไพบูลย์ศิริ, อรพรรณ ลีนะนิธิกุล.
ปีที่พิมพ์ : 2555
ติมอร์ตะวันออก เส้นทางสู่เอกราช หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเน้นไปในเรื่องสถานการณ์การต่อสู้เพื่อเอกราชจากอินโดนีเซีย ในเรื่องมีการกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของติมอร์เพียง 24 ปี ที่กล่าวถึงการเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย โดยเนื้อหาในเรื่องส่วนมากกล่าวย้อนกลับไปในช่วงการเจ้าปกครองโดยโปรตุเกสที่ยาวนานกว่า 400 ปี และเรื่องความพยายามการเป็นเอกราชนั้นเป็นเรื่องราวของภาคประชาชนอย่างมากที่รวบรวมเอกสารและนำมาศึกษาเอกสารของประชาชนธรรมดา เป็นบันทึกเรื่องราวของคนพื้นเมือง เป็นต้น
ชื่อหนังสือ : อินโดนีเซีย รายา : รัฐจารีตสู่ "ชาติ" ในจินตนาการ
ผู้แต่ง : ทวีศักดิ์ เผือกสม
ปีที่พิมพ์ : 2555
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย ที่เล่าเรื่องราวของประเทศอินโดนีเซียตั้งแต่ยุคจารีตที่มีลักษณะการปกครองและสังคมแบบดั้งเดิม ที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมร์-ฮินดู และศาสนาพุทธนิกายมหายาน สืบต่อมาถึงยุคการมาถึงของตะวันตก และยุคหลังได้รับเอกราชจากอาณานิคมดัตช์ ที่ก่อกำเนิดกลายมาเป็นประเทศอินโดนีเซียอันเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทั้งทางศาสนา เชื้อชาติ วัฒนธรรม
ชื่อหนังสือ : ศิลปอินโดนิเซียสมัยโบราณ.
ผู้แต่ง : สุภัทรดิศ ดิศกุล
ปีที่พิมพ์ : 2518
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากการศึกษาของหนังสือสองเล่มที่เกี่ยวกับ ศิลปะอินโดนีเซียสมัยโบราณ และศิลปะในเกาะชวาภาคกลางและภาคตะวันออก โดยเนื้อหาทางด้านศิลปะเหล่านั้นสามารถนำมาศึกษาและเชื่อมโยงกับศิลปะในประเทศไทย โดยเฉพาะศิลปะศรีวิชัย
The Javanese family; a study of kinship and socialization.
Authors: Geertz, Hildred
Year: 1961
ในการศึกษาทางมานุษยวิทยาในเมือง Modjokuto บนเกาะชวากลาง อันเป็นสังคมของชาวชวาที่นำเสนอรูปแบบของการดำรงชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และด้านจิตวิทยา ที่ต้องการคุณค่าทางสังคมทั้งในรูปแบบของการส่งผ่านและแบบการถูกบังคับ โดยศึกษาในกลุ่มชาติพันธุ์ชวาลงไปอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อศึกษาสภาพสังคม ครอบครัว ความเชื่อ และการแต่งงานของชาวชวาอันเป็นข้อมูลเพื่อให้ผู้ศึกษาได้มีความเข้าใจสภาพสังคมของผู้คนเหล่านั้นมากยิ่งขึ้นเพราะการศึกษาเรื่องความเชื่อของชาวชวากลางยังมีการศึกษาน้อยและมีความเชื่อที่หลากหลาย (AbeBooks Passion for Books. n.d.: Online)
The religion of Java.
Author: Clifford Geertz
Year: 1976
งานเขียนเล่มนี้เป็นอีกหนึ่งงานหายากในเรื่องของการวิเคราะห์เรื่องศาสนาของชาวชวา โดยที่ผู้ศึกษาเรื่องศาสนานั้นเป็นชาวอินโดนีเซียที่ไม่ได้เป็นชาวตะวันตกไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงและความขัดแย้งในเรื่องความเชื่ออันมีลักษณะผสมผสานกันในชีวิตประจำวัน ผู้อ่านอาจจะพบกับเนื้อหาที่มีความซับซ้อนและการศึกษาที่ลงลึกในเรื่องความเชื่อของวิญญาณ ปัญหาทางการเมือง และการอยู่ร่วมกันในสังคมที่สะท้อนผ่านศาสนา
The Religion of Java หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักมนุษาวิทยาและนักสังคมวิทยาได้ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของสังคมอินโดนีเซียต่อความเชื่อทางศาสนาและแนวคิดความเชื่อ เรื่องศาสนาเปรียบเทียบ และภาคประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลสู่ประเทศอินโดนีเซียรวมไปถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Google Book. n.d.: Online)
Ethnicity and fertility in Indonesia
Authors: Mely G. Tan and Budi Soeradji.
Year: 1985
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือ 1 ในเล่มในทั้งหมด 6 เล่มของการศึกษาในโครงการ the Ethnicity and Fertility in Southeast Asia Project that commenced in 1980. การศึกษานี้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์มีปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงความอุดมสมบูรณ์ประชากรในแต่กลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษานี้มีจุดประสงค์ในการสำรวจข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการขยายตัว และปัจจัยของการขยายตัวนำไปสู่แรงจูงใจของการแสดงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมโดยมีอิทธิพลต่อการประกอบซ้ำของพฤติกรรม ทดแทนการใช้หลักฐานชั้นรอง โครงการนี้ได้อ้างอิงถึงการใช้หลักฐานชั้นต้นหนึ่งเพื่อทำเอกสารถึงเทคนิคในการผลสำรวจ โดยการศึกษาทั้งหมดประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด 12 กลุ่มชาติพันธุ์จาก 5 ประเทศในเอเซียน โดยมีการสำรวจข้อมูลในการศึกษาในกรอบการทำงาน 3 ปี (ISEAS Publishing Online Bookshop. 2015: Online)
Hindu Javanese : Tengger tradition and Islam
Author: Robert Hefner
Year: 1990
“หนังสือเล่มนี้เป็นโมเดลตัวอย่างของการใช้ทฤษฎีทางสังคมวิทยาและสัญศาสตร์ในการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ที่ซับซ้อน หนังสือจะดึงดูดไม่ใช่แค่นักมานุษยวิทยาและชาวอินโดนีเซียเท่านั้นแต่ยังดึงดูดนักประวัติศาสตร์, นักภาษาศาสตร์, และนักศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับตำนานและศาสนา อีกทั้งผู้อ่านที่เป็นบุคคลทั่วไปจะเพลิดเพลินไปกับงานเขียนที่อ่อนช้อยและชัดเจนอีกด้วย”
Sumatra: Its History and People
Authors: Edwin M. Loeb (Author), Robert Heine-Geldern (Contributor)
Year: 1990
หนังสือเล่มนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 1935 ที่กรุงเวียนนา โดย Edwin M. Loeb ผู้ที่หลงใหลประวัติศาสตร์ของเกาะแห่งนี้ ซึ่งศึกษามาตั้งแต่ยุคที่มีการศึกษาเป็นภาษาอังกฤษโดย William Marsden ในหนังสือเรื่อง The History of Sumatra ในปี 1783 โดยปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ยังคงได้รับการนำกลับมาศึกษาเพื่อศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเกาะสุมาตรา และในหนังสือเล่มนี้เองก็ยังเป็นการศึกษาถึงเรื่องเกาะอันยิ่งใหญ่แห่งนี้เช่นกันโดยศึกษาในภาพกว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจต่อการดำรงชีวิตของคนพื้นถิ่น สังคมวัฒนธรรม ศาสนาที่ไม่เพียงเฉพาะที่มีสุมาตรา แต่ยังรวมไปถึงอาเจะห์ทางตอนเหนือของเกาะ Batak และ Minangkabau ยาวตลอดไปถึง Lampung ในทางใต้ ผู้เขียนได้เขียนในมุมของคนวงในที่มีการคลุกคลีกับคนในสังคมอินโดนีเซียเพื่อให้เข้าใจสังคมของชาวสุมาตรา รวมไปถึงสิทธิ์การครอบครองที่ดิน การแต่งงานที่ถูกจำกัด ระบบชนเผ่า การกำเนิดของเด็ก ชีวิตหลังความตาย ความเชื่อทางไสยศาสตร์ อุตสาหกรรม เป็นต้น ในหนังสือเล่มนียังมีการศึกเพิ่มเติมไปถึงเกาะที่ชื่อว่า Nias อันมีกลุ่มชาติพันธุ์สองกลุ่มคือ Mentawei และ Enggano ที่สองถูกจัดให้อยู่แยกออกไปเพราะการศึกษาทางศิลปะแบบหมู่เกาะแตกต่างกัน โดยหนังสือเล่มนี้มีคุณค่าอย่างมากเพราะเป็นการลงไปสำรวจเกาะสุมาตราที่มากที่สุดและมีความครอบคลุมมากที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยการสำรวจนี้สามารถให้ความรู้ได้ทั้งนักวิชาการทึความชำนาญและคนทั่วไปที่ต้องการศึกษาเรื่องราวของเกาะที่เข้าถึงได้ยากน่าค้นหา (Amazon. n.d.: Online)
Aceh: Art and Culture (Images of Asia)
Author: Holly Susan Smith
Year: 1997
แม้ว่าอาเจะห์จะกลายเป็นเขตการปกครองพิเศษที่มีการปกครองตนเอง แต่การแบ่งพื้นที่การปกครองของอินโดนีเซียก็ไม่ได้ทำให้ความเข้ากันของภูมิภาคที่เป็นเกาะเปลี่ยนแปลงไป ด้วยคติที่ว่า “หนึ่งเดียวในความหลากหลาย" (Unity in Diversity) นี้คือหนังสือที่ศึกษาและอธิบายความหลากหลายความแตกต่างของอาเจะห์ต่ออิทธิพลทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมของอาเจะห์ที่มีความอุดมสมบูรณ์เอาไว้ได้อย่างดี (Google Book. n.d.: Online)
Varieties of Javanese religion : an anthropological account
Author: Andrew Beatty
Year: 1999
ชวาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในเรื่องการผสมผสานกันทางวัฒนธรรมและศาสนาความเชื่อ ในการศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงศาสนาของชาวชวา ซึ่งพิจารณาระหว่างการศึกษาพบว่าการแก้ไขปัญหาในแต่ละศาสนามีความแตกต่างกัน มีความซับซ้อนแตกต่างกัน และมีความมิติทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ผู้นับถือผีเทพเจ้านับถือเรื่องลึกลับ เรื่องเหนือธรรมชาติ คนนับถือศาสนาอิสลาม และคนนับถือศาสนาฮินดูใหม่ มีรูปแบบของโครงสร้างในการนับถือที่เป็นขั้วตรงกันข้าม มีการสร้างรูปแบบความคิดในพิธีกรรมทางศาสนาลักษณะร่วมกัน มีการก่อกำเนิดความเชื่อท้องถิ่นอย่างแจ่มแจ้ง ภายในหนังสือเล่มนี้มีการศึกษาเรื่องพิธีกรรมต่างอย่างลึกซึ้งและทั้งนี้ยังยอมเปิดเผยเนื้อหาการปฏิบัติทางศาสนาด้วยเช่นกัน (Cambridge University Press. 2015: Online)
Building on batik : the globalization of a craft community
Edited: Michael Hitchcock, University of North London, UKWiendu Nuryanti, Gadjah Mada University, Indonesia
Year: 2000
คำว่า “บาติก” อาจมีรากมาจากภาษามาเลย์ จากคำว่า “ติก” ที่มีความหมายว่า “ทำให้หยด” หรือ “หยด” มีการใช้คำศัพท์นี้ในเทคนิคการย้อมผ้าในหลายๆที่ เช่น อียิปต์โบราณ, ญี่ปุ่น, และเตอร์กีสถาน บาติกเป็นเทคนิคที่ใช้กับสิ่งทอและมันเหมาะกับแค่การผลิตเล็กๆในครัวเรือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันความต้องการด้านแฟชั่นและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น หนังสือในชุดนี้นำประสบการณ์และความสัมพันธ์ของชุมชนผู้ผลิตผ้าบาติกในระดับสากล มาเป็นกระบอกเสียงสื่อถึงคำแนะนำของพวกเขาเพื่อสร้างความมั่นใจว่าพวกเขารวมตัวกันผลิตสินค้าส่งออกในระดับสากลเพิ่มขึ้นได้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังถกเถียงเกี่ยวกับความตระหนักรู้ของการมีอยู่ของงานฝีมือนี้ในระดับโลก ผู้เผลิตผ้าบาติกรายงานเกี่ยวกับวิธีการประเมินสินค้า ทั้งนี้เพื่อจะได้รักษาตำแหน่งในตลาดได้ ในขณะที่ผู้ผลิตมักเพิ่มรูปแบบที่หลากหลายจำนวนมาก หนังสือยังรวมการถกเถียงเรื่องการตลาดและนวัตกรรมการผลิตและธุรกิจท่องเที่ยวที่ทำให้ผู้ผลิตยังสามารถรักษาความคงที่ในรูปแบบและแนวทางเอาไว้ได้ อีกทั้งยังมีการควบคุมกำไรในรูปแบบทางการค้าใหม่ๆ อีกด้วย (Ashgate Publishing. 2015: Online)
Kretek : the culture and heritage of Indonesia's clove cigarettes / Indonesian art & culture heritage
Author: Mark Hanusz
Year: 2000
Kretek ในภาษาอินโดนีเซียแปลบุหรี่ บุหรี่ที่เป็นเสมือนเอกลักษณ์ของชาวอินโดนีเซียผ่านเรื่องราวยาสูบ บุหรี่เป็นเหมือนจิตวิญญาณของชาวอินโดนีเซียที่จะขาดมันไปไม่ได้ เรื่องราวของหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของยาสูบที่เกิดขึ้นในโลกใหม่เมื่อมีการค้นพบหมู่เกาะเครื่องเทศ kretek หรือบุหรี่เป็นผลิตภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ที่น่าค้นหาน่าหลงใหลผ่านสีสันต์ของกลิ่นและดำเนินชีวิตของการก่อกำหนดกลายเป็นบุหรี่โดยถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมดผ่านตัวหนังสือและภาพถ่ายของบุหรี่จากอินโดนีเซีย ประกอบกับแผ่นที่ ภาพวาด และเรื่องเล่าของบุหรี่จากผู้คนในท้องถิ่นนำมาประกอบกันเป็นเรื่องราวทางการเวลาของการกำเนิดบุหรี่ในประเทศอินโดนีเซีย (Amazon. n.d.: Online)
A cup of Java
Author: Gabriella Teggia
Year: 2003
A cup of Java งานเขียนว่าด้วยการออกสำรวจและศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกาแฟบนเกาะชวา ตั้งแต่ยุคของเจ้าอาณานิคมดัตช์ที่นำกาแฟเข้ามาในเกาะชวา และเริ่มเป็นที่รู้จักโดยพระรูปหนึ่งเริ่มผลิตเมล็ดกาแฟ นำไปสู่การสอนให้ผู้คนบนเกาะรู้จักการปลูกกาแฟโดยชาวตะวันตก นำไปค้าขายสู่ต่างประเทศจนได้รับความนิยมมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก ในนามของกาแฟจากเกาชวาที่มีคุณภาพดีที่สุดชนิดหนึ่งทั้งยังมีความหลากให้เลือกสรรค การเดินทางทางของกาแฟในหนังสือเล่มนี้ไม่เพียงมีการอธิบายต้นกำเนิดและการนำกาแฟมาเพาะปลูกในอินโดนีเซียเท่านั้น แต่ยังมีการนำเสนอเรื่องกาแฟต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่คนอินโดนีเซียทั้งในยุคอดีตและปัจจุบันที่มีอิทธิพลอย่างมากจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตทำให้กาแฟไม่หายไปจากอินโดนีเซียแต่กลับทำให้กาแฟมีความโด่งดังแพร่หลาย มีการแข่งขันสูงในตลาดการค้าเมล็ดกาแฟที่มีความสดใหม่ขยายไปสู่ตลาดภายนอก และรวมไปถึงวิถีชีวิตการดื่มกาแฟของชาวชวาอีกด้วย
Framing Indonesian realities : essays in symbolic anthropology in honour of Reimar Schefold
Author: P. Nas, Gerard Persoon, Rivke Jaffe
Year: 2003
ภาษาในพิธีกรรมทางศาสนา สัตว์ป่าและสัตว์ท้องถิ่น สรรพสิ่งทางวัฒนธรรม อย่างเช่นบ้าน พระราชวัง และ ศิลปะ ล้วนมีสัญลักษณ์ที่มีความหมายว่า “Reading the landscape” โดยให้ความหมายถึงธรรมชาติ ในขณะเดียวกันยังสามารถเชื่อมโยงถึงวัฒนธรรม ที่อีกหนึ่งนัยปรากฏคือความหมายที่เชื่อมโยงถึงภูเขา ชายหาด และหมู่เกาะจะมีความหมายที่แตกต่างจากกลุ่มของผู้คน ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้เขียนขึ้นโดยการมองถึงสัญญะโดยใช้ความรู้ทางมานุษยวิทยาโดยศึกษาอย่างลึกซึ้งในประเทศอินโดนีเซีย การศึกษานี้ได้นำเสนอกลุ่มการศึกษาในหมู่เกาะเล็กๆทางภาคตะวันตก ภาคเหนือ และตะวันออกของอินโดนีเซีย จนไปถึงกลุ่มเมืองใหญ่ในเกาะชวาและสุมาตรา โดยการศึกษาทั้งหมดขยายกว้างขวางในการศึกษาลงไปในวัตถุทางวัฒนธรรม พิธีกรรม และสัญญะ/สัญลักษณ์ที่ถ่ายออกมาในรูปแบบของกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกกันในประเทศอินโดนีเซีย (Google Book. n.d.: Online)
Indonesia : peoples and histories
Author: Jean Gelman Taylor.
Year: 2003
ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของโลก ประกอบไปด้วยเกาะมากว่า 17,000 เกาะ มีประชากรทั้งหมด 230 ล้านคน ที่พูดภาษาแตกต่างกันมากกว่า 300 ภาษา และตอนนี้ประเทศอินโดนีเซียถือเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งยังเป็นประเทศที่มีผู้คนผสมผสานกันหลายชาติพันธุ์เนื่องจากการอพยพของชาวพุทธ, ฮินดู, อาหรับ, และยุโรป ที่ซึ่งเป็นตัวอธิบายถึงประวัติศาสตร์ของดินแดนได้เป็นอย่างดี
50 ปีหลังจากที่การปกครองอาณานิคมของดัตช์ล่มสลาย ประเทศอินโดนีเซียจึงตกอยู่ในความวุ่นวายอันใหญ่หลวง ในงานสำรวจแบบกว้างๆของ จีน เจลมัน เทเลอร์ พบความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนหลายๆกลุ่มในประเทศและความแตกต่างที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวที่แปลกแยก
เทเลอร์ใช้แหล่งข้อมูลซึ่งได้แก่ งานศิลป์, โบราณคดี, และเอกสารข้อมูล มาอธิบายภาพรวมทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน หนังสือมีความน่าสนใจเพราะเป็นการอธิบายประวัติศาสตร์อย่างสั้นกระชับ มีตั้งแต่เรื่องพริกไทยไปจนถึงเรื่องกษัตริย์ไปจนถึงเรื่องโรคฝีดาษ (Yale University Press. 2015: Online)
Indonesia's Population: Ethnicity and Religion in a Changing Political Landscape
Authors: Leo Suryadinata
Year: 2003
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกที่นำเสนอการศึกษาว่าด้วยการศึกษาเอกสารทางราชการว่าด้วยการสำรวจจำนวนประชากรในประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 31 เล่ม มีจุดหมายเพื่อการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการเมือง โดยประชากรในจำนวน 2,000 คนที่มีการสำรวจครอบคลุม ตั้งแต่ยุคการเข้ามาของเจ้าอาณานิคม ค.ศ. 1930 และรวมไปถึงเอกสารเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธ์ หลังการอินโดนีเซียเป็นเอกราช