บรูไน - บรรณนิทัศน์
A History of Brunei ประวัติศาสตร์บรูไน
หนังสือที่จัดพิมพ์โดยมูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เขียนโดย ดลมนรรจน์ บากา และ ชัยวัฒน์ มีสันฐาน เป็นหนังสื่อภาษาไทยที่กล่าวถึงเรื่องราวของประเทศบรูไนอย่างละเอียดที่สุดเล่มหนึ่ง โดยปรับปรุงเนื้อหามาจากหนังสือ “คู่มือประเทศบรูไน” นอกจากจะพูดถึงประวัติศาสตร์ของบรูไนอย่างละเอียดแล้ว อย่างพูดถึงเรื่องราวด้านอื่นๆของบรูไนด้วย ทั้งภูมิศาสตร์ การเมืองการปกครอง ระบอบสุลต่าน กองทัพบรูไน ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ลักษณะทางสังคม สื่อสารมวลชนและวรรณกรรม สภาพเศรษฐกิจ การคมนาคมและการท่องเที่ยว รวมไปถึงเรื่องราวของการสาธารณสุขและสถานการณ์แรงงาน ซึ่งมีที่เกี่ยวข้องกับแรงงานไทยอีกด้วย นับว่าเป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของบรูไนได้อย่างละเอียดที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลยทีเดียว
ดลมนรรจ์ บากา และ ชัยวัฒน์ มีสันฐาน. (2557). ประวัติศาสตร์บรูไน A History of Brunei. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: มูลนิธิ โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
บรูไน อาณานิคมของอังกฤษ Brunei: The British Colonization
หนังสือประวัติศาสตร์บรูไนเล่มนี้นับว่าเป็นหนังสือประวัติศาสตร์บรูไนเล่มที่สมบูรณ์เล่มหนึ่ง โดยจะกล่าวถึงปูมหลังของบรูไนตั้งแต่ยุคโบราณ เรื่อยมาจนถึงช่วงการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และหลังจากนั้น โดยภายในมีทั้งเนื้อหาและภาพประกอบการอ่านอีกด้วย
ศิริพร สมัครสโมสร. (2541). บรูไน อาณานิคมของอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.
บุหลันลบแสงสุริยา-บรูไน
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักเขียนชื่อดังอย่าง รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม) และจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน เมื่อ พ.ศ. 2527 เมื่อครั้งบรูไนเพิ่งได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์จากอังกฤษ โดยหนังสือเล่มนี้เป็นการเขียนถึงบรูไนได้ละเอียดที่สุดในยุคนั้น โดยรวบรวมมาจากที่ตีพิมพ์ในมติชนสุดสัปดาห์ ตัวเนื้อหาเป็นลักษณะการเขียนแบบเชิงสารคดีท่องเที่ยว ที่ผู้อ่านจะสามารถจินตนาการภาพของบรูไนในยุคนั้นได้
รงค์ วงษ์สวรรค์. (2527). บุหลันลบแสงสุริยา-บรูไน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มติชน.
เนการาบรูไน ดารุสซาลาม
หนังสือเรื่องเนการาบรูไน ดารุสซาลามเป็นหนังสือชุดประชาคมอาเซียนของสำนักพิมพ์สถาพรบุ๊ค เป็นหนังสื่อที่พิมพ์ออกมาเพื่อต้อนรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในหนังสือกล่าวถึงเรื่องราวของบรูไนในทุกด้านอย่างค่อนข้างละเอียด ตั้งแต่เรื่องการเมือง ประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องราวของบรูไน และอ้างอิงในการค้นคว้าของนักเรียน
วิทย์ บัณฑิตกุล. (2555). เนการาบรูไนดารุสซาลาม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์.
46 เกร็ดความรู้ให้รู้จักบรูไนมากกว่าที่เคยรู้
ในหนังสือในชุด สวัสดีอาเซียน บรูไน ของสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น เป็นหนังสือที่ออกมาเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียนหรือเออีซี โดยภายในเล่มได้พูดบรูไนในเรื่องราวๆ ต่างจำนวน 46 เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเทศบรูไน ตั้งแต่ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง วัฒนธรรม เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาเรื่องราวๆเกี่ยวกับประเทศบรูไน เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
ฐานี โพธิ์น้อย. (2555). ชุดสวัสดีอาเซียน-บรูไน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ประวัติศาสตร์ มาเลเซีย บรูไนและสิงคโปร์: ความหลากหลายเป็นหนึ่งเดียว
หนังสือชุด รู้จัก “อาเซียน” ในหน้าประวัติศาสตร์ เขียนโดย อาณัติ อนันตภาค จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ยิบซีกรุ๊ป เมื่อปี พ.ศ. 2557 เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของสามประเทศที่เกี่ยวเนื่องกันในฐานะอดีตอาณานิคมอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร โดยในหนังสือเล่าถึงประวัติศาสตร์ของมาเลเซียเป็นหลัก แต่ก็มีเรื่องราวในส่วนของสิงคโปร์และบรูไนด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์บรูไน ในหนังสือได้พูดถึงบท “กำเนิดบรูไน” โดยเล่าเรื่องราวตั้งแต่ที่บรูไนเริ่มปรากฏตัวในหน้าของประวัติศาสตร์โลก ต่อมาในบทของ “บอร์เนียวกับการขยายดินแดน” ที่พูดถึงการเข้ามาของตะวันตกและการล่าอาณานิคมในเกาะบอร์เนียว
จนกระทั่งถึงยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของการได้รับเอกราชก็มีกล่าวถึงในบท “การสร้างชาติมาเลเซียและกำเนิดสิงคโปร์” และในบทสุดท้ายที่ชื่อว่า “มาเลเซีย สิงคโปร์และบรูไน ในปัจจุบัน” ได้กล่าวถึงภาพรวมของบรูไนในปัจจุบัน
อาณัติ อนันตภาค. (2557). ประวัติศาสตร์มาเลเซีย บรูไนและสิงคโปร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ยิบซีกรุ๊ป.
100 เรื่องน่ารู้ในบรูไน
หนังสือชุด 100 เรื่องน่ารู้ในบรูไน เป็นหนังสือต้อนรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของสำนักพิมพ์อมรินทร์คอมมิกส์ เขียนโดย อาภาพรรณ สีหิรัญวงศ์ โดยในหนังสือจะกล่าวถึงเรื่องราวด้านต่างๆของบรูไนโดยแบ่งออกมาเป็นหมวดหมู่ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคมวัฒนธรรม การศึกษา สื่อสารมวลชนและอาชีพในบรูไน โดยในแต่ละเรื่องจะยกมาเป็นหัวข้อย่อย ทั้งหมดจำนวน 100 เรื่องตามชื่อหนังสือพอดี
อาภาพรรณ สีหิรัญวงศ์. (2556). 100 เรื่องหน้ารู้ในบรูไน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อัมรินทร์คอมมิกส์ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
OUR ASEAN รู้จักอาเซียน เข้าใจอาเซียน
ในฐานะที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หน่วยงานภาครัฐจึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับคนไทย เพื่อต้องรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนั้นหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เล่าถึงข้อมูลของประเทศที่จะเข้าสู่สมาคม โดยในแต่ละประเทศจะมีเนื้อหาที่ลงรายละเอียดคร่าวๆ ไม่ได้เจาะลึก เนื่องด้วยข้อจำกัดการขนาดหนังสือ
กรมประชาสัมพันธ์. (2557). OUR ASEAN รู้จักอาเซียน เข้าใจอาเซียนบรูไน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: กรมประชาสัมพันธ์.
เปิดประตูท่องเที่ยวอาเซียน เชื่อมโยง 10 ประเทศเป็นหนึ่งเดียว
เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวๆประวัติศาสตร์อย่างสั้นๆของทั้งสิบประเทศ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ ซึ่งในเล่มนี้จะเน้นที่แหล่งท่องเที่ยวเป็นหลัก
พินิจ จันทรและคณะ. (2556). เปิดประตูท่องเที่ยวอาเซียน เชื่อมโยง 10 ประเทศเป็นหนึ่งเดียว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน
ประวัติศาสตร์ 10 ประเทศอาเซียน
เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยแบ่งออกเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์ในกลุ่มประเทศอาเซียนในเบื้องต้น และเนื่องจากบรูไนเป็นประเทศเล็ก ประวัติศาสตร์บรูไนจึงไม่ยาวนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
วงเดือน ทองเจียวและเอกญารัตน์ ทองเจียว. (2556). ประวัติศาสตร์ 10 ประเทศอาเซียน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แสงดาว
อุษาคเนย์ ประวัติศาสตร์ “อาเซียน” ฉบับประชาชน
เป็นหนังสือที่น่าหาสะสม เนื่องจากเป็นหนังสือเล่มใหญ่และมีปกแข็ง โดยในเนื้อหาของหนังสือจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของเซียนทั้ง 10 ประเทศในรูปแบบของช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ โดยไม่ได้แบ่งแยกเป็นประเทศต่างๆ และในส่วนของบรูไนนั้นอาจจะไม่ได้ลงในรายละเอียดมากนัก เนื่องจากไม่มีข้อโดดเด่น โดยในส่วนที่กล่าวถึงบรูไนมากที่สุดเป็นในส่วนที่ชื่อว่า “บอร์เนียวกับการขยายดินแดน”
เริงวุฒิ มิตรสุริยะ. (2557). อุษาคเนย์ ประวัติศาสตร์ “อาเซียน” ฉบับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ยิปซี
ประวัติศาสตร์มาเลเซีย สิงคโปร์และบรูไน
หนังสือเล่มนี้จัดทำโดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่เขียนโดย C. Mary Turnbull และแปลโดย รองศาสตราจารย์ทองสุก เกตุโรจน์ หนังสือเล่มนี้จะเล่าถึงประวัติศาสตร์ของอาณานิคมอังกฤษในแหลมมลายูและเกาะบอร์เนียว ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน โดยหนังสือเล่มจะเน้นประวัติศาสตร์ของบรูไนในช่วงการเข้าครอบครองเกาะบอร์เนียวของอังกฤษ เรื่อยมาจนกระทั่งบรูไนได้รับเอกราช
C. Mary Turnbull. (2540). ประวัติศาสตร์มาเลเซีย สิงคโปร์และบรูไน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: กระทรวงศึกษาธิการ