uu
Database of Southeast Asian Sociocultural Information
ตลอดระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร บริเวณเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นแนวชายแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชานั้น เป็นที่ตั้ง ของชุมชนโบราณและศาสนสถานอันเป็นศูนย์กลางของชุมชนใหญ่น้อยจำนวนมากมาย รวมถึงปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นเทวสถานโบราณแบบศิลปะขอมในลัทธิศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
บทความนี้ศึกษาภาพแทนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกสร้างโดยพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในลาว 3 แห่ง คือ หอพิพิธภัณฑ์บรรดาเผ่าแขวงพงสาลี หอพิพิธภัณฑ์ชนเผ่าเมืองสิง และศูนย์ศิลปะและชนเผ่าวิทยา เมืองหลวงพระบาง ผลการศึกษาพบว่า การให้ความหมายและสร้างภาพแทนกลุ่มชาติพันธุ์ แตกต่างกันตามบริบท ทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ รวมถึงอำนาจและทัศนะภัณฑารักษ์... ตีพิมพ์ใน "วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง" ศูนย์วิจัยพหุลักษ์สังคมลุ่มน้ำโขง ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2557
ข้อเขียนนี้พัฒนามาจากบันทึกภาคสนามของผู้เขียน เมื่อครั้งไปเยือนเมืองหลวงพระบาง เมื่อปี พ.ศ. 2552 แม้จุดหมายปลายทางของการเดินทางในครั้งนั้นคือ การสัมภาษณ์ Tara Gudjadhur และทองคูน สุดทิวิไล สองผู้อำนวยการหญิงของ “ศูนย์ศิลปะและชนเผ่าวิทยา” (Traditional Arts and Ethnology Centre) แต่การได้เดินท่องไปตามตรอกซอกซอย พบปะพูดคุยกับผู้คนต่างๆ ทำให้เห็นชีวิตและได้ย้อนคิดกับความเป็นไปของเมืองและผู้คน